วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วิชาeis



•Stifling ⇒ร้อน รู้สึกไม่สบายตัว หายใจหอบ
•Humid ⇒ อากาศร้อนชื้น
•Scorching ⇒ อากาศร้อนมากๆ (ใช้ในความหมายเชิงบวก)
•Boiling ⇒ อากาศร้อนมากๆ ร้อนจนจะเดือด (ใช้ในความหมายเชิงลบ)
•Heatwave ⇒ คลื่นความร้อน

สำหรับวันที่เมฆ

•It’s really cloudy out there. I wonder if it will rain today. ⇒ ตอนนี้มีเมฆมาก ฉันกำลังคิดอยู่ว่าวันนี้จะมีฝนมั้ยนะ
•It’s pretty cloudy outside. I better take an umbrella. ⇒ ตอนนี้ข้างนอกมีเมฆ ฉันคิดว่าฉันควรจะเอาร่มไปด้วย
•It’s been cloudy for a week now. I need some sun! ⇒ สัปดาห์นี้มีเมฆมาทั้งสัปดาห์ ฉันต้องการแสงแดด

 สำหรับวันที่มีฝน

•It’s raining out. You’ll need an umbrella. ⇒ ข้างนอกมีฝนตกนะ คุณควรต้องเอาร่มไปด้วย
•It’s raining pretty hard out there. ⇒ ด้านนอกฝนตกค่อนข้างหนัก
•A big storm is expected this afternoon. ⇒ วันนี้ตอนช่วงบ่ายคาดการว่าน่าจะมีพายุเกิดขึ้น
•It’s so gloomy and depressing outside. ⇒ ด้านนอกบรรยากาศดูมืดมัวและน่าหดหู่
•It’s not raining too hard. It’s just drizzling out. ⇒ ฝนตกไม่ค่อยหนัก มีฝนเล็กน้อย
•Bring an umbrella just in case, since it will be raining on and off today ⇒ เอาร่มติดตัวไปด้วยนะ เนื่องจากวันนี้ฝนเดี๋ยวตกเดี๋ยวหยุด

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

•Isolated rain or showers ⇒ ฝนกระจายเป็นบางแห่ง
•Occasional showers ⇒ ฝนตกเป็นครั้งคราว
•Overcast ⇒ เมฆปกคลุมเต็มท้องฟ้า
•Scattered showers ⇒ ฝนตกเป็นแห่งๆ
•Thundery showers ⇒ ฝนฟ้าคะนอง
•Thunderstorm  ⇒ พายุฝนฟ้าคะนอง สภาวะของบรรยากาศที่เกิดฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ความรู้วิชาคริสต์ศาสนา



  1. จงนมัสการ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าองค์เดียวของท่าน
  2. อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ
  3. อย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์
  4. จงนับถือบิดามารดา
  5. อย่าฆ่าคน
  6. อย่าผิดประเวณี
  7. อย่าลักขโมย
  8. อย่าพูดเท็จใส่ร้ายผู้อื่น
  9. อย่าปลงใจผิดประเวณี
  10. อย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น

ความรู้วิชาวิทยาศาสตร์


1. การนำความร้อน (Conduction)

หากเราเทน้ำร้อนใส่แก้วที่ทำจากวัสดุที่เป็นโลหะ แล้วนำไปวางไว้ในแก้วอีกใบที่ใหญ่กว่าซึ่งมีน้ำเย็นอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปสักครู่  น้ำในแก้วทั้งสองจะมีอุณหภูมิเท่ากัน หรือขณะที่เราต้มน้ำในกา หากมือของเราบังเอิญไปสัมผัสกับกาต้มน้ำ จะทำให้เรารู้สึกถึงความร้อนจากกา ซึ่งความร้อนนั้นก็อาจทำให้ผิวหนังของเราไหม้พองได้อีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นการถ่ายโอนความร้อนในรูปแบบของการนำความร้อน
การนำความร้อนเกิดขึ้นโดยมีวัตถุที่เป็นของแข็งเป็นตัวกลาง จากการสั่นของอนุภาคที่เรียงตัวกันอยู่อย่างหนาแน่นในวัตถุที่เป็นของแข็งนั้น และส่งพลังงานอย่างต่อเนื่องกันไป โดยไม่มีการเคลื่อนที่ของโมเลกุลหรือสสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง มีเพียงพลังงานเท่านั้นที่ถูกถ่ายโอนไป เช่น จากน้ำร้อนไปสู่น้ำเย็นหรือจากกาต้มน้ำสู่มือของเรา
วัตถุที่นำความร้อนได้ดี เราเรียกว่า "ตัวนำความร้อน (Conductor)" ได้แก่ โลหะ เช่น เงิน ทองแดง เหล็ก ส่วนวัตถุที่นำความร้อนได้ไม่ดีเราเรียกว่า "ฉนวนความร้อน (Insulators)" ได้แก่ อโลหะและก๊าซ เช่น ไม้ พลาสติก อากาศ ซึ่งความรู้ในเรื่องนี้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสร้างบ้านเพื่อระบายความร้อนได้อีกด้วย โดยบ้านที่สร้างจากฉนวนใยหินหรือไฟเบอร์กลาส จะมีความเย็นภายในเพราะวัสดุดังกล่าวเป็นฉนวนความร้อน จึงมีการนำความร้อนจากนอกบ้านเข้าสู่ภายในบ้านได้น้อยกว่าวัสดุอื่น ๆ อย่างไรก็ตามฉนวนความร้อนไม่ได้หยุดการถ่ายโอนความร้อนอย่างสิ้นเชิง เพียงแต่ทำให้การถ่ายโอนความร้อนเป็นไปได้ช้าลงเท่านั้น

2. การพาความร้อน (Convection)

ตัวอย่างของการพาความร้อนที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ การถ่ายโอนความร้อนผ่านน้ำซึ่งต้มอยู่ในหม้อ ขณะที่น้ำเดือดเราจะเห็นได้ว่า มีการเคลื่อนที่ของน้ำในหม้อเกิดขึ้น นั่นคือการถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อนซึ่งมีน้ำเป็นตัวกลางเมื่อเราให้ความร้อนแก่น้ำ น้ำที่อยู่ก้นหม้อจะได้รับความร้อน มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น และเกิดการขยายตัว เนื่องจากอนุภาคของน้ำที่ได้รับความร้อนมีการเคลื่อนที่ ช่องว่างระหว่างโมเลกุลของน้ำจะเพิ่มขึ้น ขณะที่อนุภาคมีขนาดเท่าเดิม ทำให้น้ำบริเวณก้นหม้อมีความหนาแน่นน้อยลง ดังนั้น มันจึงลอยตัวสู่ผิวน้ำด้านบน ส่วนผิวน้ำด้านบนที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าแต่ความหนาแน่นมากกว่าก็จะเคลื่อนลงมาอยู่ที่ก้นหม้อแทน เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะหยุดให้ความร้อนแก่น้ำ และการพาความร้อนในลักษณะนี้ก็เกิดขึ้นกับก๊าซได้เช่นกัน เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่วางอยู่บนตะแกรงเหนือกองไฟเนื่องจากของเหลวและก๊าซถือว่าเป็นของไหล อนุภาคในของไหลสามารถเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้ ดังนั้น เมื่ออนุภาคของของเหลวหรือก๊าซได้รับพลังงานความร้อน มันจึงเคลื่อนที่ไปสู่ที่ที่มีพลังงานความร้อนน้อยกว่า เป็นการถ่ายโอนความร้อนในลักษณะของการพาความร้อนด้วยตัวกลางอย่างของเหลวและก๊าซนั่นเอง ทั้งนี้เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการพาความร้อนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างการสร้างช่องระบายอากาศภายในบ้าน เป็นต้น

3. การแผ่รังสีความร้อน (Radiation)

วัตถุทุกชนิดมีการแผ่และดูดซับรังสีความร้อนหรือที่เรียกว่า "รังสีอินฟราเรด (Infrared Radiation, IR)" โดยรังสีอินฟราเรดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง จึงแตกต่างจากการนำความร้อนและการพาความร้อนที่ต้องอาศัยอนุภาคของตัวกลางในการถ่ายโอนความร้อนการแผ่รังสีความร้อนจะมีลักษณะการแผ่ออกไปในทุกทิศทุกทางรอบจุดกำเนิดหรือวัตถุ โดยวัตถุที่มีความร้อนมากกว่าจะแผ่รังสีได้มากกว่า เช่น ดวงอาทิตย์แผ่รังสีความร้อนได้มากกว่ากาแฟร้อนในแก้ว ส่วนความสามารถในการดูดซับความร้อนก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นกับลักษณะและสมบัติของวัตถุนั้น ๆ เช่น วัตถุสีเข้ม ด้าน จะสามารถแผ่และดูดซับความร้อนได้ดีกว่าวัตถุที่มีสีอ่อนและมันวาว หรือหากวัตถุสองชิ้นทำจากวัสดุชนิดเดียวกัน ปริมาณเท่ากัน วัตถุที่มีลักษณะแบนและบาง จะสามารถแผ่รังสีความร้อนได้เร็วกว่าวัตถุที่อ้วนหนา




วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู้วิชาแนะแนว


ความรู้วิชาลูกเสือ-เนตรนารี

๑. เงื่อนตะกรุดเบ็ด ( Cleve Hitch )

ประโยชน์
     ๑. ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือเรือแพเพื่อป้องกันไม่ให้ปมเชือกคลายหลุดควรเอาปลายเชือกผูกขัดสอดกับตัวเชือก ๑ รอบ )
    ๒. ใช้ผูกบันไดเชือก บันไดลิง  ผูกกระหวัดไม้
    ๓. ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท
๒. เงื่อนพิรอด  ( Reef Knot หรือ Square Knot )   


ประโยชน์
    ๑.  ใช้ต่อเชือก ๒ เส้น ที่มีขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน
    ๒.  ใช้ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้าทำสลิงคล้องคอ
    ๓.  ใช้ผูกมัดหีบห่อ และวัตถุต่าง ๆ
    ๔.  ผูกเชือกรองเท้า ( ปลายกระตุก ๒ ข้าง ) และผูกโบว์
    ๕.  ใช้ผูกกากบาทญี่ปุ่น     ๖.  ใช้ต่อผ้าเพื่อให้ได้ความยาวตามต้องการเพื่อช่วยคนที่อยู่ที่สูงในยามฉุกเฉิน ( ต้องเป็นผ้าเหนียว ๆ )  

๓. เงื่อนขัดสมาธิ ( Sheet Bend )

ประโยชน์ของเงื่อนขัดสมาธิ
    ๑. ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน ( เส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด ) หรือต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกันก็ได้
    ๒.ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน(เส้นอ่อนเป็นเส้นพันขัด)
    ๓.ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็ง เช่น เถาวัลย์
    ๔.ใช้ต่อด้ายต่อเส้นไหมทอผ้า
    ๕. ใช้ผูกเชือกกับขอหรือบ่วง ( ใช้เชือกเล็กเป็นเส้นผูกขัดกับบ่วงหรือขอ ) เช่น ผูกเชือกกับธงเพื่อเชิญธงขึ้น - ลง 

๔. เงื่อนผูกร่น หรือ ทบเชือก (Sheepshank)



ประโยชน์
    ๑. ใช้ผูกร่นเชือกตรงส่วนที่ชำรุดเล็กน้อย  เพื่อให้เชือกมีกำลังเท่าเดิม

    ๒. เป็นการทบเชือกให้เกิดกำลังลากจูง
    ๓. การร่นเชือกที่ยาวมากๆ ให้สั้น ตามต้องการ

๕. เงื่อนกระหวัดไม้  (Two Haft Hitch)

ประโยชน์
    ๑. ใช้ผูกชั่วคราวกับห่วง หรือกับรั่ว กับกิ่งไม้

   ๒. แก้ง่าย แต่มีประโยชน์
    ๓. ผูกเชือกสำหรับโหน

๖. เงื่อนบ่วงสายธนู ( Bowline ) ใช้ทำเป็นบ่วงที่มีขนาดที่ไม่เลื่อนไม่รูด

ประโยชน์
    ๑. ทำบ่วงคล้องกับเสาหลักหรือวัตถุ เช่น ผูกเรือ แพไว้กับหลัก ทำให้เรือ แพขึ้น - ลง ตามน้ำได้
    ๒. ทำบ่วงคล้องเสาหลัก เพื่อผูกล่ามสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย เพื่อให้สัตว์เดินหมุนได้รอบ ๆ เสาหลัก เชือกจะไม่พันรัดคอสัตว์
    ๓. ใช้ทำบ่วงให้คนนั่ง เพื่อหย่อนคนลงสู่ที่ต่ำหรือดึงขึ้นสู่ที่สูง
    ๔. ใช้คล้องคันธนู เพื่อโก่งคันธนู
    ๕. ใช้ทำบ่วงต่อเชือกเพื่อการลากโยงของหนัก ๆ หรือทำบ่วงบาศ
    ๖. ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งถังนอน

7. เงื่อกผูกรั้ง ( Tarbuck Knot )

ประโยชน์
    ๑. ใช้ผูกสายเต็นท์ ยึดเสาธงกันล้ม ใช้รั้งต้นไม้
    ๒. เป็นเงื่อนเลื่อนให้ตึงหรือหย่อนตามต้องการได้

๘. เงื่อนประมง ( Fishirman's  Knot )

ประโยชน์
    ๑. ใช้ต่อเส้นด้ายเล็ก ๆ เช่น ด้ายเบ็ด ต่อเส้นเอ็น
    ๒. ใช้ต่อเชือก ๒ เส้นที่มีขนาดเดียวกัน
    ๓. ใช้ผูกคอขวดสำหรับถือหิ้ว
    ๔. ต่อเชือกขนาดใหญ่ที่ลากจูง
    ๕. ใช้ต่อสายไฟฟ้า
    ๖. ใช้ผูกเรือแพกับท่าเรือหรือกับหลักหรือห่วง
    ๗. เป็นเงื่อนที่ผูกง่ายแก้ง่าย

9. เงื่อนผูกซุง ( A Timber Hitch )

ประโยชน์
    ๑. ใช้ผูกวัตถุท่อนยาว ก้อนหิน ต้นซุง เสา เพื่อการลากโยง
    ๒. ใช้ผูกทแยง
    ๓. ใช้ผูกสัตว์ เรือแพไว้กับท่าหรือเสาหรือรั้ว ต้นไม้
    ๔. เป็นเชือกผูกง่ายแก้ง่าย

๑๐. เงื่อนเก้าอี้ ( Chair Knot or ireman's Chair Knot ) **

ประโยชน์

เป็นเงื่อนกู้ภัยใช้ช่วยคนที่ติดอยู่บนที่สูง ไม่สามารถลงทางบันไดได้ หรือใช้ช่วยคนขึ้นจากที่ต่ำ ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับบ่วงสายธนู ๒ ชั้นยึดกันแน่นโดยมีสิ่งของอยู่ตรงกลางภายในบ่วงเพื่อดึงลากสิ่งของไประหว่างจุด ๒ จุด
เงื่อนผูกแน่น(Lashing ) มี ๓ ชนิด ได้แก่
    ๑. ผูกประกบ ( Sheer Lasning )
    ๒. ผูกกากบาท ( Square Lashing )
    ๓. ผูกทแยง ( Diagonal Lashing )
ผูกประกบ มีหลายวิธี เช่น ผูกประกบ ๒ ประกบ ๓

ผูกประกบ ๒ ใช้ต่อเสาหรือไม้ ๒ ท่อนเข้าด้วยกัน

ผูกทแยง (Diang  Lashing )
หนึ่งเอาปลายเชือกพันบิดเข้ากับตัวเชือก ( แต่งงานกัน ) เอาลิ่มหนาเท่าเส้นเชือกคั่นระหว่างเสาทั้งสองรูป   จัดให้เงื่อนอยู่ใกล้ ๆ ปลายเสาด้านที่ซ้อนกันแล้วจับตัวเชือกพันรอบเสาทั้งสองจากปลายเสาเข้าใน   เรียงเส้นเชือกให้เรียบ พันให้เท่าความกว้างของเสาทั้ง ๒ ต้น ดังรูป ๒ เสร็จแล้วพันสอดเชือกเข้าระหว่างไม้เสาทั้งสองพันหักคอไก่ พันรอบเชือกที่พันเสาทั้ง ๒ ต้น ดึงรัดให้แน่น รูป ๓  แล้วผูกด้วยตะกรุดเบ็ดบนเสาอีกต้นหนึ่ง ( คนละต้นกับอันขึ้นต้น ) เหน็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย
          ผูกประกบ ๓   เอาไม้ ๓ ท่อนมาเรียงขนานกัน เริ่มผูกตะกรูดเบ็ดที่เสาอันกลางเอาปลายเชือกแต่งงานกันกับตัวเชือก แล้วเอาเชือกพันรอบเสาทั้ง ๓ ต้น เรียงเส้นเชือกให้เรียบร้อย พันให้มีความกว้างเท่าเสาทั้ง ๓ ต้น ( ก่อนพันอย่าลืมเอาลิ่มขนาดเส้นเชือกคั่นระหว่างเสา ) พันเสร็จแล้วหักคอไก่ระหว่างซอกเสาทั้ง ๓ ต้นให้แน่น แล้วผูกลงท้ายด้วยเงื่อนตะกรูดเบ็ดทีเสาต้นริมต้นใดต้นหนึ่งเก็บซ่อนปลายเชือก ให้เรียบร้อย
ผูกกากบาท (Square Lashing )
วิธีที่ ๑ กากบาทแบบ Gilwell และแบบ Thurman
วิธีผูก   เอาไม้ที่จะต่อกันวางขนานกัน ให้ส่วนที่จะผูกวางซ้อนกันประมาณ ๑/๔  ของความยาว ( ต่อแล้วเสาจะตรง ) เอาเชือกที่จะผูกผูกด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ดที่เสาต้นวิธีผูก   เอาไม้หรือเสามาวางซ้อนกันเป็นรูปกากบาท (กางเขน ) เอาเชือกผูกตะกรูดเบ็ดที่เสาอันตั้งใต้เสาอันขวาง เอาปลายเชือก  แต่งงานกับตัวเชือก รูป๑  เอาเชือกอ้อมใต้เสาอันขวางทางด้านขวา ( ซ้ายก่อนก็ได้ ) ของไม้ตั้งดึงขึ้นเหนือไม้อันขวางพันอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งไปทาง

ซ้ายของไม้อันตั้ง ดึงเชือกอ้อมมาทางด้านหน้าพันลงใต้ไม้อันขวาง ดึงอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งผ่านมาทางด้านขวาของไม้อันตั้งดึงเชือก   ขึ้นพาดบนไม้อันขวางทางขวาไม้อันตั้งแล้วพันตั้งต้นใหม่เหมือนเริ่มแรก ทุกรอบต้องดึงให้เชือกตึง     เรียงเส้นเชือกให้เรียบด้วย  แล้วพันวนเรื่อย ๆ  ไปประมาณ ๓ - ๔ รอบ (หรือเส้นเชือกด้านกลังชิดกัน ) จึงพันหักคอไก่ ๒ - ๓ รอบ แล้วเอาปลายเชือกผูกตะกรุดเบ็ดที่  ไม้อันขวาง ( คนละอันกับขึ้นต้นผูก )
 วิธีผูก   เอาเชือกพันรอบเสาทั้ง ๒ ต้น ตรงระหว่างมุมตรงข้ามด้วยเงื่อนผูกซุง แล้วดึงตัวเชือกไม้เสาทั้ง ๒ ต้น ตามมุมตรงข้ามคู่แรก ( มุมทแยง )  ประมาณ ๓ รอบ ( ทุกรอบดึงให้เชือกตึง ) แล้วดึงเชือกพันเปลี่ยนมุมตรงข้ามคู่ที่ ๒ อีก ๓ รอบ แล้วดึงเชือกพันหักคอไก่ ( พันรอบเชือกระหว่างไม้เสา ทั้งสอง ) สัก ๒ - ๓ รอบ พันเสร็จเอาปลายเชือกผูกตะกรูดเบ็ดทีไม้เสาต้นใดต้นหนึ่ง เก็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย
ประโยชน์
๑. ใช้ในงานก่อสร้าง
๒. ให้ผูกเสาหรือไม้ค้ำยัน ป้องกันล้ม
๓. ทำตอม่อสะพาน
ผูกตอม่อสะพาน ( Trestle )
อุปกรณ์ทำตอม่อสะพาน ด้วยไม้พลองหรือเสาเข็ม
๑. เสายาวพอสมควร จำนวน ๖ต้น ( ใช้พลองฝึก )
๒. เชือกมนิลาสำหรับผูก ๙ เส้น ขนาดโตพอสมควร ( ฝึกด้วยพลองเชือกยาว ๓ เมตร )
วิธีสร้าง   ฝึกด้วยไม้พลอง
๑. วางไม้พลอง ๒ อันขนานกันห่างกันประมาณ ๒ ใน ๓ ของความยาว เป็นเสาตั้ง  ( leg )
๒. เอาไม้พลองอีก ๒ อัน วางทับลงบนไม้พลองคู่แรก ( leg ) ให้ปลายยื่นออกไปด้านละ ๑/๖ หรือ ๑/๘
๓. เอาเชือกวัดความยาวของพลอง ทบเชือกแบ่งเป็น ๘ และ ๑๖ ส่วน เลื่อนหัวเสาทั้ง ๒ อันเข้าหากันอีกข้างละ  ๑/๑๖   เพื่อทำให้หัวเสาสอดเข้าหากัน
๔. เงื่อนที่ใช้ผูกใช้เงื่อนผูกกากบาทและผูกทแยง ( ตรงกลาง )
ประโยชน์
๑. ใช้ต่อเสาหรือไม้ให้ยาว
๒. ทำตอม่อสะพาน เสาธงลอย
๓. ทำนั่งร้าน

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู้วิชาประวัติ

 

อาณาจักรสุโขทัย(สุกโขไท:ตามจารึก) เป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพงซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด

ที่ตั้งและอาณาเขต

อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้[2]
  1. ทิศเหนือ มีเมืองแพล (ปัจจุบันคือแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
  2. ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
  3. ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันคือแม่สอด) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ
  4. ทิศตะวันออก มีเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ

การแทรกแซงจากอยุธยา



หลังจากพ่อขุนรามคำแหงแล้ว เมืองต่างๆเริ่มอ่อนแอลงเมือง ส่งผลให้ในรัชกาลพญาเลอไท และรัชกาลพญาไสลือไท ต้องส่งกองทัพไปปราบหลายครั้งแต่มักไม่เป็นผลสำเร็จ และการปรากฏตัวขึ้นของอาณาจักรอยุธยาทางตอนใต้ซึ่งกระทบกระเทือนเสถียรภาพของสุโขทัยจนในท้ายที่สุดก็ถูกแทรกแทรงจากอยุธยา จนมีฐานะเป็นหัวเมืองของอยุธยาไปในที่สุด โดยมี พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครองสุโขทัยในฐานะรัฐอิสระพระองค์สุดท้าย โดยขณะนั้น ด้วยการแทรกแซงของอยุธยา รัฐสุโขทัยจึงถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ


  • เมืองสรวงสองแคว (พิษณุโลก) อันเป็นเมืองเอก มีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครอง
  • เมืองสุโขทัย เมืองรอง มี พระยาราม เป็นผู้ปกครองเมือง
  • เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) มี พระยาเชลียง เป็นผู้ปกครองเมือง
  • เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) มี พระยาแสนสอยดาว เป็นผู้ปกครองเมือง

หลังสิ้นรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) พระยายุทธิษฐิระซึ่งเดิมทีอยู่ศรีสัชนาลัย ได้เข้ามาครองเมืองสองแคว (พิษณุโลก) และเมื่อแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นผ่านพิภพ เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าขณะนั้น พระยายุทธิษฐิระ เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ได้เพียงตำแหน่งพระยาสองแคว เนื่องด้วย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเคยดำริไว้สมัยทรงพระเยาว์ว่า หากได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จะชุบเลี้ยงพระยายุทธิษฐิระให้ได้เป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย พ.ศ. 2011 พระยายุทธิษฐิระจึงเอาใจออกห่างจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปขึ้นกับ พระยาติโลกราช กษัตริย์ล้านนาในขณะนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเฉลิมพระนามกษัตริย์ล้านนา จากพระยา เป็น พระเจ้า เพื่อให้เสมอศักดิ์ด้วยกรุงศรีอยุธยา พระนามพระยาติโลกราช จึงได้รับการเฉลิมเป็นพระเจ้าติโลกราช

หลังจากที่พระยายุทธิษฐิระ นำสุโขทัยออกจากอยุธยาไปขึ้นกับล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงเสด็จจากกรุงศรีอยุธยา กลับมาพำนัก ณ เมืองสรลวงสองแคว พร้อมทั้งสร้างกำแพงและค่ายคู ประตู หอรบ แล้วจึงสถาปนาขึ้นเป็นเมือง พระพิษณุโลกสองแคว เป็นราชธานีฝ่ายเหนือของอาณาจักรแทนสุโขทัย ในเวลาเจ็ดปีให้หลัง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงตีเอาสุโขทัยคืนได้ แต่เหตุการณ์ทางเมืองเหนือยังไม่เข้าสู่ภาวะที่น่าไว้วางใจ จึงทรงตัดสินพระทัยพำนักยังนครพระพิษณุโลกสองแควต่อจนสิ้นรัชกาล ส่วนทางอยุธยานั้น ทรงได้สถาปนาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระราชโอรส เป็นพระมหาอุปราช ดูแลอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายใต้

ด้วยความที่เป็นคนละประเทศมาก่อน และมีสงครามอยู่ด้วยกัน ชาวบ้านระหว่างสุโขทัยและอยุธยา จึงมิได้ปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงต้องแยกปกครอง โดยพระมหากษัตริย์อยุธยา จะทรงสถาปนาพระราชโอรส หรือพระอนุชา หรือพระญาติ อันมีเชื้อสายสุโขทัย ปกครองพิษณุโลกในฐานะราชธานีฝ่ายเหนือ และควบคุมหัวเมืองเหนือทั้งหมด

การสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัย

หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง (เมืองพระพิษณุโลกสองแคว เมืองสุโขทัย เมืองพิชัยเมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง)[3] ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ


ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อยก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน ทั้งหมด

ความเจริญรุ่งเรือง


ด้านเศรษฐกิจ[แก้]



สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ดังข้อความปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 "…ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้า ทองค้า " และ "...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว..." ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยระบบการเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ เช่นสังคมไทยส่วนใหญ่ในชนบทปัจจุบัน และส่งออกเครื่องถ้วยชามสังคโลก

ด้านสังคม[แก้]


การใช้ชีวิตของผู้คนในสมัยสุโขทัยมีความอิสระเสรี มีเสรีภาพอย่างมากเนื่องจากผู้ปกครองรัฐให้อิสระแก่ไพร่ฟ้า และปกครองผู้ใต้ปกครองแบบพ่อกับลูก ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกว่า "…ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…"

ด้านความเชื่อและศาสนา สังคมยุคสุโขทัยประชาชนมีความเชื่อทั้งเรื่องวิญญาณนิยม (Animism) ไสยศาสตร์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพุทธศาสนา ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 5 ว่า "…เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎิวิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดพงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง ป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขระพุงผี เทพยาดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยว เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย…"
ส่วนด้านศาสนา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราช ในวันพระ จะมีภิกษุเทศนาสั่งสอน ณ ลานธรรมในสวนตาล โดยใช้พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ เป็นอาสนะสงฆ์ ในการบรรยายธรรมให้ประชาชนฟัง ยังผลให้ประชาชนในยุคนี้นิยมปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีการถือศีล โอยทานกันเป็นปกติวิสัย ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุขร่มเย็น

ด้านการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย[แก้]

อาณาจักรสุโขทัยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ
  1. แบบราชาธิปไตย ในระยะแรกสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์เรียกว่า "พ่อขุน" ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง การปกครองแบบนี้ปรากฏในสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น
  1. แบบธรรมราชา กษัตริย์ผู้ทรงธรรม ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรงเกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่างเดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบนี้ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ 1 - 4
ด้านการปกครองส่วนย่อยสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้
  • ในแนวราบ จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้