วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู้วิชาพุทธศาสนา

คำว่า สังคายนา” หมายถึง การประชุมสงฆ์เพื่อซักซ้อมความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับหลักคำสอนของพุทธศาสนา ให้มีแนวทางปฏิบัติเป็นไปในแนวเดียวกัน และเพื่อความมั่นคงตั้งอยู่ได้นานของพระพุทธศาสนา
สาเหตุของการสังคายนา

สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การทำสังคายนาพระไตรปิฎก ก็เนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนของพระพุทธวจนะ เพราะมีการศึกษาและตีความหมายไปแง่มุมต่าง ๆ อันเป็นสาเหตุให้มีข้อวัตรปฏิบัติแตกต่างกัน จึงเป็นเหตุให้พุทธบริษัทผู้ปรารถนาให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ถูกต้องตามคำสอนเดิมตามพระพุทธวจนะ จึงร่วมกันจัดทำสังคายนาขึ้น เพื่อตรวจสอบถึงความถูกต้องและจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัย ในชั้นต้นกระทำโดยมุขปาฐะ (ถ่ายทอดโดยใช้คำพูด) ในภายหลังจึงได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยใช้ภาษาบาลีหรือมคธ การทำสังคายนานั้น กระทำกันหลายครั้ง แต่การทำอันเป็นที่ยอมรับกันโดยกว้างขวางนั้นมีเพียง ครั้ง โดยจัดทำในประเทศอินเดีย 4ครั้ง และในศรีลังกา ครั้ง ซึ่งสังคายนาแต่ละครั้งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ครั้งที่
สังคายนาเมื่อ
องค์ประธานฝ่ายสงฆ์
องค์อุปถัมภก
จำนวนผู้เข้าร่วม
สถานที่
1
หลังพุทธปรินิพพาน 3เดือน เวลา 7เดือน
พระมหากัสสปเถระ
พระเจ้าอชาตศัตรู
พระอรหันต์500 องค์
ถ้ำสัตตบรรณคูหา เขาเวภาระเมืองราชคฤห์ อินเดีย
2
หลังพุทธปรินิพพาน 100ปีเวลา 8เดือน
พระสัพพกามีเถระ
พระเจ้ากาลาโศกราช
พระอรหันต์700 องค์
วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี อินเดีย
3
หลังพุทธปรินิพพาน 218ปีเวลา 9เดือน
พระโมคคัลลีบุตร
ติสสเถระ
พระเจ้าอโศกมหาราช
พระอรหันต์1,000 องค์
อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร อินเดีย
4
ปีพ.ศ. 236
พระมหินทเถระ
-
-
ถูปาราม อนุราชบุร ีศรีลังกา
5
ปีพ.ศ. 450
พระพุทธทัตตเถระ
พระเจ้าทุฏฐคามีนีอภัย
พระสงฆ์1,000รูป
มหาวิหาร ศรีลังกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น